ข่าวสารอัพเดต : 27-Dec-2022

    ILINK รับรางวัลต่อเนื่องกับรางวัลประกาศเกียรติคุณการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของสถาบันไทยพัฒน์ แห่งปี 2565 สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่ ILINK จะขับเคลื่อน และพัฒนาองค์กรไปสู่การเติบโต ต่อเนื่อง และยั่งยืน อย่างโปร่งใส ครบทุกมิติ

 

    โดยสถาบันไทยพัฒน์ จัดพิธีมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน หรือ Sustainability Disclosure ประจำปี 2565 มีองค์กรที่ได้รับรางวัลเกียรติคุณ (Award) 56 แห่ง ประกาศเกียรติคุณ (Recognition) 43 แห่ง และกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) 22 แห่ง รวมทั้งสิ้น 121 รางวัล 

โดยการมอบรางวัลในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

  1. Sustainability Disclosure Award มีองค์กรที่ได้รับรางวัลเกียรติคุณ จำนวน 56 แห่ง
  2. Sustainability Disclosure Recognition มีองค์กรที่ได้รับประกาศเกียรติคุณ จำนวน 43 แห่ง 
  3. Sustainability Disclosure Acknowledgement มีองค์กรที่ได้รับกิตติกรรมประกาศ จำนวน 22 แห่ง

    ทั้งนี้ สถาบันไทยพัฒน์ คัดเลือกบริษัทที่ได้รับรางวัล โดยพิจารณาจากข้อมูลความยั่งยืนที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ เช่น รายงานแห่งความยั่งยืน หรือ รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมบูรณาการในรายงานประจำปี หรือ รายงานในรูปแบบอื่น ทั้งที่เป็นรูปเล่มรายงาน ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ อินโฟกราฟิก ฯลฯ โดยไม่ใช้แบบสำรวจข้อมูล หรือ แบบสอบถามใดๆ เพิ่มเติม


    บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK นำโดย ดร.ชลิดา อนันตรัมพร กรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นผู้รับรางวัล “Sustainability Disclosure Recognition” (ประกาศเกียรติคุณ)โดยมี ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้มอบรางวัล ในพิธีมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2565 (Sustainability Disclosure Community: SDC) ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ 21 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา


    รางวัล Sustainability Disclosure Recognition ที่ได้รับนี้ เป็นรางวันในด้านการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ที่แสดงถึงองค์กรธุรกิจที่เป็นสมาชิกของ SDC ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือ ประเด็นด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงิน ซึ่งแสดงถึงความยั่งยืนของธุรกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ และการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย สนับสนุนการดำเนินธุรกิจและพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนในระยะยาวต่อไป" ดร.ชลิดา กล่าวเสริมตอนท้าย